ENGLISH
ไทย
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ธุรกิจ และ ผลิตภัณฑ์
บรรษัทภิบาล
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข่าวสาร
ร่วมงานกับเรา
ติดต่อเรา
รู้จัก กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง
ธุรกิจของเรา
ข่าวสารความเคลื่อนไหว
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
ประวัติความเป็นมา
เหตุการณ์สำคัญ
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ธุรกิจ และ ผลิตภัณฑ์
บรรษัทภิบาล
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข่าวสาร
ร่วมงานกับเรา
ติดต่อเรา
ENGLISH
ไทย
VISION & MISSION
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
เรามุ่งมั่นเพื่อเป็นบริษัท
ชั้นนำระดับโลก
ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากอ้อยอย่างครบวงจร ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีมาตรฐาน บริหารงานโดยยึดหลักของ
คุณธรรม ความซื่อสัตย์ คุณภาพ
และ
ความยั่งยืน
โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งต่อความสุข รอยยิ้ม สู่สังคม จากรุ่นสู่รุ่น
ใส่ใจในคุณภาพ
เรามุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล ให้ความสำคัญในเรื่องของความสะอาดของสินค้าและใช้เครื่องจักรที่มีคุณภาพ
ดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์
ยึดหลักการบริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาล มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์และยึดมั่นในการรักษาคำพูด เพราะความซื่อสัตย์และความจริงใจ คือ หัวใจในการทำงานของเรา
คำนึงถึงผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน
เพื่อความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืน เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืนในทุกภาคส่วน ทั้งเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากการปลูกจิตสำนึกที่ดีจากภายในองค์กร สู่ชาวไร่อ้อย ชุมชน ผู้บริโภคและสังคม
ความเป็นมา
BACKGROUND
กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ได้เริ่มต้นกำเนิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะนั้น ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤตการณ์น้ำตาลขาดแคลนแม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายสนับสนุนให้เอกชนก่อตั้งโรงงานน้ำตาลเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ดังกล่าว แต่ภาคเอกชนส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาเรื่องต้นทุนค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงมาก ในขณะที่ คุณสุรีย์ อัษฎาธร มีความรู้และความสามารถด้านช่าง สามารถผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่หายากและมีราคาแพงสำหรับการผลิตน้ำตาลทรายเป็นผลสำเร็จ จึงได้จัดตั้ง “บริษัท ร่วมกำลาภ จำกัด” ขึ้น เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2489 ที่บริเวณซอยพร้อมพงษ์ ริมคลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นโรงงานน้ำตาลเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย
เหตุการณ์สำคัญ
MILESTONE
เริ่มต้น
กลุ่มน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ได้เริ่มต้นกำเนิดขึ้นในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในขณะที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤตการณ์น้ำตาลขาดแคลน “คุณสุรีย์ อัษฎาธร” หรือ “เถ้าแก่หลิ่น” หรือที่ชาวต่างชาติเรียกว่า “Thailand’s King of Sugar” ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถในเชิงช่างในการประดิษฐ์ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และมีราคาแพงสำหรับผลิตน้ำตาลทรายขึ้นมาใช้เองสำเร็จ
2488
คุณสุรีย์ อัษฎาธร อาศัยความชำนาญจาก
การสร้างโรงงานน้ำแข็ง และโรงกลึงเหล็ก
เริ่มสร้าง “โรงงานน้ำตาลร่วมกำลาภ” โดย
ผลิตเครื่องจักรส่วนใหญ่ในการผลิตขึ้นเอง
2489
โรงงานน้ำตาลเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย
ถือกำเนิดขึ้นที่ซอยพร้อมพงษ์ กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2489
ภายใต้บริษัท ร่วมกำลาภจำกัด
โดยมีโรงงานแห่งแรกชื่อ
“โรงงานน้ำตาลร่วมกำลาภ”
2490
สร้าง “โรงงานน้ำตาลเฮียบฮั้ว” ขึ้นที่ธนบุรี
2492
ย้าย “โรงงานน้ำตาลเฮียบฮั้ว”
ไปที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงงานน้ำตาลศรีราชา”
2496
คุณสุรีย์ อัษฎาธร อาศัยความชำนาญ
ที่ได้เป็นนายช่างของโรงงานรัฐวิสาหกิจที่อุตรดิตถ์ คุณสุรีย์ อัษฎาธร หล่อลูกเหล็กใช้เป็นโรงงานเอกชนแห่งแรก
2501
เป็นผู้นำอุตสาหกรรมน้ำตาล ในการสร้างโรงงานน้ำตาลที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นรายแรก
และ ตั้งโรงงานชื่อว่า “โรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม โรงที่ 1”
ขึ้นที่อำเภอท่าไม้ จังหวัดกาญจนบุรี
2502
• สร้าง “โรงงานสหการน้ำตาลชลบุรี”
ขึ้นที่ ตำบลหนองไผแก้ว อำเภอบ้างบึง จังหวัดชลบุรี
• สร้าง “โรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม โรงที่ 2” ขึ้นที่อำเภอท่าไม้ จังหวัดกาญจนบุรี
2503
คุณสุรีย์ อัษฎาธรถึงกับลงทุนออกความคิดจูงใจชาวบ้านให้หันมาปลูกอ้อยป้อนโรงงานด้วยวิธีปล่อยเงินเชื่อให้นำไปลงทุนก่อนก้อนหนึ่ง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าเงิน “เกี๊ยวอ้อย” จนปัจจุบัน
2506
ย้าย “โรงงานน้ำตาลร่วมกำลาภ”
ไปที่ถนนแสงชูโต อำเภอท่ามะกา
จังหวัดกาญจนบุรี
2507
กลุ่มบริษัท น้ำตาลไทยรุ่งเรือง
เป็นผู้นำโรงงานน้ำตาลทั้งหมด
จัดตั้งเป็น “สมาคมโรงงานน้ำตาลไทย”
2508
สร้าง “โรงงานน้ำตาลกรุงไทย”
ที่ถนนแสงชูโต อำเภอท่ามะกา
จังหวัดกาญจนบุรี
2510
ซื้อกิจการโรงงานน้ำตาลที่จังหวัดระยอง
จากบริษัท สยามกสิกรรม จำกัด
ที่ตำบลสำนักท้อน อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
และพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพและเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงงานน้ำตาลไทยร่วมเจริญ”
2512
สร้าง “โรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม โรงที่ 3” ขึ้นที่อำเภอท่าไม้
จังหวัดกาญจนบุรี
2513
สร้าง “โรงงานไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล”
ขึ้นที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
2515
สร้าง “โรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม โรงที่ 4” ขึ้นที่อำเภอท่าไม้
จังหวัดกาญจนบุรี
2516
• สร้าง “โรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์”
ที่ ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จ.อุตรดิตถ์
• สร้าง “โรงงานน้ำตาลไทยเพิ่มพูน” ขึ้นที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
2519
• สร้าง “โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลกาญจนบุรี”
ขึ้นที่ตำบลท่าไม้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
• สร้าง “ไทยรวมทุนคลังสินค้า - สมุทรปราการ”
2520
ตั้ง “บริษัท ไทยรุ่งเรืองโมลาส จำกัด”
2525
สร้างอาคารสำนักงานใหญ่ถาวร
ที่เรียกว่าอาคารไทยรวมทุน
(บริษัท ไทยรวมทุนคลังสินค้า จำกัด)
เป็นที่ทำการมาจนปัจจุบัน
2527
ตั้ง “บริษัท ส่งออกน้ำตาลสยาม จำกัด”
2533
ย้าย “โรงงานน้ำตาลศรีราชา”
ไปที่อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงงานน้ำตาลสระบุรี”
(บริษัท น้ำตาลสระบุรี จำกัด)
2536
ย้าย “โรงงานน้ำตาลไทยร่วมเจริญ”
ไปที่จังหวัดพิษณุโลก และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงงานน้ำตาลพิษณุโลก”
2537
ย้าย “โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลกาญจนบุรี”
ไปที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลบ้านไร่”
2539
ย้าย “โรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม” ไปที่อำเภอศรีเทพ
จังหวัดเพชรบูรณ์
2546
• ตั้ง “บริษัท 108 ลิสซิ่ง จำกัด”
• ตั้ง “บริษัท ไทยรุ่งเรืองแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด”
2547
• สร้างไทยรวมทุนคลังสินค้า - อ่างทอง
• สร้างโรงงานเอทานอลจากโมลาส
และโรงงานทดลองขนาดใหญ่ที่ผลิตเอทานอลจากชานอ้อยแห่งแรกของโลกในนาม
“บริษัท ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด” ที่ อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
• เปิดตัวแบรนด์ “ลิน”
2549
เปิด “โครงการสาธิตการผลิตเอทานอล
จากกากน้ำตาลและกากอ้อยในประเทศไทย” โดย “บริษัท ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด” ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น
2552
สร้างไทยรวมทุนคลังสินค้า - อยุธยา
2557
เปิด “โครงการสาธิตการผลิตเอทานอล
จากกากอ้อยโดยใช้เอนไซม์ในประเทศไทย” โดย “บริษัท ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด” ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น
ตั้ง “บริษัท ร่วมกำลาภพาวเวอร์ จำกัด”
2558
สร้าง “โรงงานน้ำตาลสระบุรี (ลพบุรี)”
ขึ้นที่อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
ขยายกำลังผลิตเอทานอลของ
“บริษัท ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด” จาก 120,000 ลิตรต่อวันเป็น 270,000 ลิตรต่อวัน
2559
สร้าง “โรงงานน้ำตาลไทยอุตสาหกรรม (เพชรบูรณ์)” ขึ้นที่อำเภอบึงสามพัน
จังหวัดเพชรบูรณ์
2560
• ตั้ง “บริษัท โกบิ ซิสเท็ม จำกัด”
• ตั้ง “บริษัท ร่วมกำลาภเทรดดิ้ง จำกัด”
• ตั้ง “บริษัท ร่วมกำลาภเอ็กซ์พอร์ท จำกัด”